สสช.เผยค่าใช้จ่ายครัวเรือนคนกรุง-ปริมณฑลพุ่ง
หน้า 1 จาก 1
สสช.เผยค่าใช้จ่ายครัวเรือนคนกรุง-ปริมณฑลพุ่ง
สสช.เผลผลสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือนเฉลี่ย 15,942 บาท/เดือน และ 34.2% เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม โดยคนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีค่าใช้จ่ายสูงสุด
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้เก็บรวบรวมข้อมูลทุกเดือนตลอดปีในการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2551 จากครัวเรือนตัวอย่างในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาล 52,000 ครัวเรือน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของสมาชิกในครัวเรือน ค่าใช้จ่าย ลักษณะที่อยู่อาศัย ตลอดจนการได้รับสวัสดิการ/ความช่วยเหลือจากรัฐ และการใช้บริการของภาครัฐ
ผลการสำรวจในส่วนของค่าใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่จำเป็นต้องใช้ในการยังชีพเท่านั้น ไม่รวมการสะสมทุน เช่น ซื้อบ้าน/ที่ดิน และเงินออม โดยพบว่าครัวเรือนทั่วประเทศ ในปี 2551 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 15,942 บาท ส่วนใหญ่ร้อยละ 34.2 เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม ในจำนวนนี้มีค่าเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.5 รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางและยานพาหนะ ร้อยละ 19.3 ค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน ร้อยละ 19.1 ใช้ส่วนบุคคล/เครื่องนุ่งห่ม/รองเท้า ร้อยละ 5.3 การสื่อสารร้อยละ 3.2
ส่วนค่าใช้จ่ายในการศึกษาและการบันเทิง/การจัดงานพิธี มีสัดส่วนที่เท่ากันคือร้อยละ 2.2 ขณะที่ค่าใช้จ่ายที่ใช้เกี่ยวกับกิจกรรมทางศาสนามีเพียงร้อยละ 1.1 ตามลำดับ สำหรับค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคเช่น ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกันภัย ซื้อสลากกินแบ่ง/หวยดอกเบี้ย มีร้อยละ 11.6
เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของครัวเรือนทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2549 ถึง 2551 พบว่าค่าใช้จ่ายที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นได้แก่ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งยังคงเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงสุดเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายประเภทอื่น โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32.1 เป็น 34.2 รองลงมาเป็นการใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและการเดินทาง ซึ่งเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 18.0 เป็น 19.3 จากปี 2549 ถึง 2551 สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะอยู่ในช่วงราคาน้ำมันแพง ทำให้ต้นทุนราคาสินค้าด้านอาหารปรับตัวสูงขึ้น สำหรับค่าใช้จ่ายประเภทอื่นมีการใช้จ่ายลดลงจากปี 2549 เกือบทุกประเภท โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการบริโภค ลดลงจากร้อยละ 12.2 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 11.6 ในปี 2551
เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนทั่วประเทศ จากปี 2549 ถึง 2551 พบว่า เพิ่มขึ้นจาก 14,311 เป็น 15,942 บาท หรือเพิ่มขึ้น 1,631 บาท/เดือน โดยในปี 2551 เพิ่มขึ้นจากปี 2550 จำนวน 1,442 บาท/เดือน ในขณะที่ปี 2550 เพิ่มขึ้นจากปี 2549 จำนวน 189 บาท/เดือน
โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานีและสมุทรปราการ มีค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนเฉลี่ยสูงกว่าภาคอื่นมากในปี 2551 คือ 28,140 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 จากปี 2550 ถึง 2551
รองลงมาเป็นครัวเรือนภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน 16,878, 16,711 และ 11,939 บาท ตามลำดับ ส่วนครัวเรือนภาคเหนือ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่ำสุด คือ 11,746 บาท แต่เมื่อพิจารณาอัตราการเพิ่มขึ้นกลับพบว่า ภาคใต้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นต่ำสุด ร้อยละ 6.3
เมื่อแบ่งครัวเรือนทั่วประเทศออกเป็น 10 กลุ่มเท่า ๆ กัน โดยเรียงลำดับครัวเรือนตามค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคต่อคนต่อเดือนจากน้อยไปมาก จากผลการสำรวจ พบว่า กลุ่มคนรวยมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูงกว่ากลุ่มคนจน หรืออาจกล่าวได้ว่าในปี 2551 ความไม่เสมอภาคระหว่างคนรวย และคนจนเพิ่มขึ้น
โดยกลุ่มคนที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด 2 กลุ่มแรก คือกลุ่มที่ 9 และกลุ่มที่ 10 มีส่วนแบ่งของการใช้จ่ายเฉลี่ยรวมทั้งประเทศร้อยละ 40 ในปี 2551 และเมื่อเทียบกับปี 2550 ครัวเรือนกลุ่มที่ 9 และกลุ่มที่ 10 มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และ 0.3 ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มคนจนกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 มีส่วนแบ่งของการใช้จ่ายเฉลี่ยรวมทั้งประเทศเพียงร้อยละ 9 เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 พบว่าการใช้จ่ายของคน 2 กลุ่มนี้ ลดลงร้อยละ 0.1 เท่ากัน
ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์จาก ค่าสัมประสิทธ์ของความไม่เสมอภาค (Gini Coefficient) ในปี 2550 และ 2551 ยืนยันว่า ความไม่เสมอภาคระหว่างกลุ่มคนรวยและคนจนเพิ่มขึ้นจาก 0.305 เป็น 0.311
ธุรกิจ : สถิติ & วิจัย
วันที่ 17 มิถุนายน 2552 10:59สสช.เผยค่าใช้จ่ายครัวเรือนคนกรุง-ปริมณฑลพุ่ง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้เก็บรวบรวมข้อมูลทุกเดือนตลอดปีในการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2551 จากครัวเรือนตัวอย่างในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาล 52,000 ครัวเรือน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของสมาชิกในครัวเรือน ค่าใช้จ่าย ลักษณะที่อยู่อาศัย ตลอดจนการได้รับสวัสดิการ/ความช่วยเหลือจากรัฐ และการใช้บริการของภาครัฐ
ผลการสำรวจในส่วนของค่าใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่จำเป็นต้องใช้ในการยังชีพเท่านั้น ไม่รวมการสะสมทุน เช่น ซื้อบ้าน/ที่ดิน และเงินออม โดยพบว่าครัวเรือนทั่วประเทศ ในปี 2551 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 15,942 บาท ส่วนใหญ่ร้อยละ 34.2 เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม ในจำนวนนี้มีค่าเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.5 รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางและยานพาหนะ ร้อยละ 19.3 ค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน ร้อยละ 19.1 ใช้ส่วนบุคคล/เครื่องนุ่งห่ม/รองเท้า ร้อยละ 5.3 การสื่อสารร้อยละ 3.2
ส่วนค่าใช้จ่ายในการศึกษาและการบันเทิง/การจัดงานพิธี มีสัดส่วนที่เท่ากันคือร้อยละ 2.2 ขณะที่ค่าใช้จ่ายที่ใช้เกี่ยวกับกิจกรรมทางศาสนามีเพียงร้อยละ 1.1 ตามลำดับ สำหรับค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคเช่น ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกันภัย ซื้อสลากกินแบ่ง/หวยดอกเบี้ย มีร้อยละ 11.6
เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของครัวเรือนทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2549 ถึง 2551 พบว่าค่าใช้จ่ายที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นได้แก่ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งยังคงเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงสุดเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายประเภทอื่น โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32.1 เป็น 34.2 รองลงมาเป็นการใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและการเดินทาง ซึ่งเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 18.0 เป็น 19.3 จากปี 2549 ถึง 2551 สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะอยู่ในช่วงราคาน้ำมันแพง ทำให้ต้นทุนราคาสินค้าด้านอาหารปรับตัวสูงขึ้น สำหรับค่าใช้จ่ายประเภทอื่นมีการใช้จ่ายลดลงจากปี 2549 เกือบทุกประเภท โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการบริโภค ลดลงจากร้อยละ 12.2 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 11.6 ในปี 2551
เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนทั่วประเทศ จากปี 2549 ถึง 2551 พบว่า เพิ่มขึ้นจาก 14,311 เป็น 15,942 บาท หรือเพิ่มขึ้น 1,631 บาท/เดือน โดยในปี 2551 เพิ่มขึ้นจากปี 2550 จำนวน 1,442 บาท/เดือน ในขณะที่ปี 2550 เพิ่มขึ้นจากปี 2549 จำนวน 189 บาท/เดือน
โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานีและสมุทรปราการ มีค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนเฉลี่ยสูงกว่าภาคอื่นมากในปี 2551 คือ 28,140 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 จากปี 2550 ถึง 2551
รองลงมาเป็นครัวเรือนภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน 16,878, 16,711 และ 11,939 บาท ตามลำดับ ส่วนครัวเรือนภาคเหนือ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่ำสุด คือ 11,746 บาท แต่เมื่อพิจารณาอัตราการเพิ่มขึ้นกลับพบว่า ภาคใต้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นต่ำสุด ร้อยละ 6.3
เมื่อแบ่งครัวเรือนทั่วประเทศออกเป็น 10 กลุ่มเท่า ๆ กัน โดยเรียงลำดับครัวเรือนตามค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคต่อคนต่อเดือนจากน้อยไปมาก จากผลการสำรวจ พบว่า กลุ่มคนรวยมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูงกว่ากลุ่มคนจน หรืออาจกล่าวได้ว่าในปี 2551 ความไม่เสมอภาคระหว่างคนรวย และคนจนเพิ่มขึ้น
โดยกลุ่มคนที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด 2 กลุ่มแรก คือกลุ่มที่ 9 และกลุ่มที่ 10 มีส่วนแบ่งของการใช้จ่ายเฉลี่ยรวมทั้งประเทศร้อยละ 40 ในปี 2551 และเมื่อเทียบกับปี 2550 ครัวเรือนกลุ่มที่ 9 และกลุ่มที่ 10 มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และ 0.3 ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มคนจนกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 มีส่วนแบ่งของการใช้จ่ายเฉลี่ยรวมทั้งประเทศเพียงร้อยละ 9 เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 พบว่าการใช้จ่ายของคน 2 กลุ่มนี้ ลดลงร้อยละ 0.1 เท่ากัน
ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์จาก ค่าสัมประสิทธ์ของความไม่เสมอภาค (Gini Coefficient) ในปี 2550 และ 2551 ยืนยันว่า ความไม่เสมอภาคระหว่างกลุ่มคนรวยและคนจนเพิ่มขึ้นจาก 0.305 เป็น 0.311
ธุรกิจ : สถิติ & วิจัย
วันที่ 17 มิถุนายน 2552 10:59สสช.เผยค่าใช้จ่ายครัวเรือนคนกรุง-ปริมณฑลพุ่ง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Ton- Admin
- จำนวนข้อความ : 127
Join date : 03/05/2009
: 48
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ