M.B.A. for Modern Managers (Saturday Program)
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สวัสดิการกับพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดี

Go down

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สวัสดิการกับพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดี Empty ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สวัสดิการกับพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดี

ตั้งหัวข้อ  Ton Mon Mar 01, 2010 1:05 am

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สวัสดิการกับพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีขององค์การ : ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานของบริษัท เอเซียไฟเบอร์ จำกัด (มหาชน)
Title Alternative Relationship between perception of welfares and organizational citizenship behavior : a case study of employees of asia fiber public company limited

Creator Name: ณัฐมน ตั้งพานทอง
Subject ThaSH: ความผูกพันต่อองค์การ ; ความภักดีของลูกจ้าง ; พนักงานบริษัท -- ความพอใจในการทำงาน

ThaSH: สวัสดิการลูกจ้าง -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ

Description Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อx1)xศึกษาระดับการรับรู้สวัสดิการและระดับพฤติกรรมการเป็น พนักงานที่ดีขององค์การของพนักงานx2)xศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีของ องค์การของพนักงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลx3)xศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สวัสดิการ กับพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีขององค์การของพนักงานx4)xสร้างสมการพยากรณ์พฤติกรรมการ เป็นพนักงานที่ดีขององค์การ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานบริษัท เอเซียไฟเบอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 299 คน และใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าพนักงานบริษัท เอเซียไฟเบอร์ จำกัด (มหาชน) ส่วนใหญ่มีการรับรู้สวัสดิการ ในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีขององค์การในระดับสูง ปัจจัยส่วนบุคคลของ พนักงาน ด้านอายุ ระดับการศึกษา และอายุงาน มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีขององค์การของ พนักงาน การรับรู้สวัสดิการในทุกด้านของพนักงาน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านสังคม สงเคราะห์ ด้านนันทนาการ ด้านการสร้างความมั่นคง และด้านสุขภาพอนามัย มีความสัมพันธ์ทางบวก กับพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และองค์ประกอบ ของการรับรู้สวัสดิการด้านสุขภาพอนามัย และด้านสังคมสงเคราะห์สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการ เป็นพนักงานที่ดีขององค์การได้ร้อยละ 11.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract: The objectives of this research are 1) to study the level of perceived welfares and organizational citizenship behavior of employees 2) to compare organizational citizenship behavior of employees who have different personal factors 3) to study the relationship between the perceived welfares and organizational citizenship behavior of employees 4) to create an algebraic equation to predict organizational citizenship behavior. This research was carried out with 299 employees of Asia Fiber Public Company Limited. The research was conducted through questionnaire survey. Data collected through the survey were analyzed in percentage, means, standard deviation, t-test, One-way Analysis of Variance, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Multiple Regression Analysis. Results of the study reveal majority of employees had perceived provided welfares at middle level and had organizational citizenship behavior at high level. Personal factors that influence the levels of organizational citizenship behavior are age, education, status and periods of working. The perceived welfares of an economy, education, social work, recreation, job security and health had positive relationship with organizational citizenship behavior at .01 statistically significant level. Perception of welfare of health and social work can predict organizational citizenship behavior of 11.9 percent at .05 statistically significant level.

Publisher สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สำนักหอสมุดกลาง
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: pkp@kmitnb.ac.th
Contributor Name: วิมล เหมือนคิด
Role: ที่ปรึกษาสารนิพนธ์
Email : vmk@kmitnb.ac.th

Name: ชวนีย์ พงศาพิชณ์
Role: ที่ปรึกษาสารนิพนธ์
Email : cps@kmitnb.ac.th
Date Created: 2549
Issued: 2550-09-11
Modified: 2550-09-11
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Source CallNumber: สพ MIOP ม342ต
Language tha
Thesis DegreeName: ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต

Level: ปริญญาโท

Descipline: จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

Grantor: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Rights ©️copyrights มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
RightsAccess:สามารถเข้าใช้ได้เฉพาะสมาชิกในกลุ่ม ThaiLIS
Ton
Ton
Admin

จำนวนข้อความ : 127
Join date : 03/05/2009
: 48

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ