เปรียบเทียบการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมและความรู้สึกผูกพันต่อองค์การ ธุรกิจประกันภัยไทย
หน้า 1 จาก 1
เปรียบเทียบการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมและความรู้สึกผูกพันต่อองค์การ ธุรกิจประกันภัยไทย
การศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การ และความรู้สึกผูกพันต่อองค์การ ในองค์การธุรกิจประกันภัยไทย อเมริกัน และญี่ปุ่น
2541
อารีย์ เพ็ชรรัตน์
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การ และความรู้สึก ผูกพันต่อองค์การในองค์การธุรกิจประกันภัยไทย อเมริกัน และญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การ และ ความรู้สึกผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย อเมริกัน และญี่ปุ่น
2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีต่อการรับรู้ลักษณะ วัฒนธรรมองค์การ และความรู้สึกผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย อเมริกัน และญี่ปุ่น
3. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การและ ความรู้สึกผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย อเมริกัน และญี่ปุ่น
โดยในงานวิจัยนี้แบ่งการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การ ออกเป็น 3 มิติ คือมิติงาน มิติ กลุ่ม และมิติบุคคล และแบ่งความรู้สึกผูกพันต่อองค์การ ออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านจิตใจ ด้าน การคงอยู่กับองค์การ และด้านบรรทัดฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในองค์การธุรกิจประกันภัย ไทย อเมริกัน และญี่ปุ่น จํานวน 410 ราย
สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทาง เดียว การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธี LSD และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยทําการ ทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัยเป็นดังนี้
1. พนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย มีการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การในทุกมิติ ได้แก่ มิติงาน มิติกลุ่ม และมิติบุคคลมากที่สุด ในขณะที่พนักงานองค์การธุรกิจประกันภัย อเมริกัน และญี่ปุ่น มีการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การในทุกมิติน้อยกว่าตามลําดับ
2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับอายุ ระยะเวลาปฏิบัติงาน ระดับตําแหน่ง และระดับ การศึกษา ของพนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย และญี่ปุ่น ไม่ส่งผลต่อการรับรู้ลักษณะ วัฒนธรรมองค์การ ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับอายุ ระยะเวลาปฏิบัติงาน และ ระดับตําแหน่ง ส่งผลต่อการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การของพนักงานในองค์การธุรกิจ ประกันภัยอเมริกัน
3. พนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย มีความรู้สึกผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ และด้าน บรรทัดฐานมากที่สุด ในขณะที่พนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยญี่ปุ่น และอเมริกัน มีความรู้สึกผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ และด้านบรรทัดฐานน้อยกว่าตามลําดับ พนักงานองค์การธุรกิจ ประกันภัยญี่ปุ่น มีความรู้สึกผูกพันต่อองค์การด้านการคงอยู่กับองค์การมากที่สุด รองลงมาคือ พนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย และอเมริกัน ตามลําดับ
4. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับอายุ ระยะเวลาปฏิบัติงาน ระดับตําแหน่ง และระดับ การศึกษา ของพนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยอเมริกัน และญี่ปุ่น ไม่ส่งผลต่อความรู้สึกผูกพัน ต่อองค์การ ในขณะที่มีเพียงปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับตําแหน่งเท่านั้น ที่ส่งผลต่อความรู้สึก ผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย
5. การรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกผูกพันต่อ องค์การ ของพนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย อเมริกัน และญี่ปุ่น
http://www.thaihrhub.com/index.php/archives/research-view/research-121/
2541
อารีย์ เพ็ชรรัตน์
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การ และความรู้สึก ผูกพันต่อองค์การในองค์การธุรกิจประกันภัยไทย อเมริกัน และญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การ และ ความรู้สึกผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย อเมริกัน และญี่ปุ่น
2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีต่อการรับรู้ลักษณะ วัฒนธรรมองค์การ และความรู้สึกผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย อเมริกัน และญี่ปุ่น
3. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การและ ความรู้สึกผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย อเมริกัน และญี่ปุ่น
โดยในงานวิจัยนี้แบ่งการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การ ออกเป็น 3 มิติ คือมิติงาน มิติ กลุ่ม และมิติบุคคล และแบ่งความรู้สึกผูกพันต่อองค์การ ออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านจิตใจ ด้าน การคงอยู่กับองค์การ และด้านบรรทัดฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในองค์การธุรกิจประกันภัย ไทย อเมริกัน และญี่ปุ่น จํานวน 410 ราย
สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทาง เดียว การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธี LSD และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยทําการ ทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัยเป็นดังนี้
1. พนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย มีการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การในทุกมิติ ได้แก่ มิติงาน มิติกลุ่ม และมิติบุคคลมากที่สุด ในขณะที่พนักงานองค์การธุรกิจประกันภัย อเมริกัน และญี่ปุ่น มีการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การในทุกมิติน้อยกว่าตามลําดับ
2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับอายุ ระยะเวลาปฏิบัติงาน ระดับตําแหน่ง และระดับ การศึกษา ของพนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย และญี่ปุ่น ไม่ส่งผลต่อการรับรู้ลักษณะ วัฒนธรรมองค์การ ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับอายุ ระยะเวลาปฏิบัติงาน และ ระดับตําแหน่ง ส่งผลต่อการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การของพนักงานในองค์การธุรกิจ ประกันภัยอเมริกัน
3. พนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย มีความรู้สึกผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ และด้าน บรรทัดฐานมากที่สุด ในขณะที่พนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยญี่ปุ่น และอเมริกัน มีความรู้สึกผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ และด้านบรรทัดฐานน้อยกว่าตามลําดับ พนักงานองค์การธุรกิจ ประกันภัยญี่ปุ่น มีความรู้สึกผูกพันต่อองค์การด้านการคงอยู่กับองค์การมากที่สุด รองลงมาคือ พนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย และอเมริกัน ตามลําดับ
4. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับอายุ ระยะเวลาปฏิบัติงาน ระดับตําแหน่ง และระดับ การศึกษา ของพนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยอเมริกัน และญี่ปุ่น ไม่ส่งผลต่อความรู้สึกผูกพัน ต่อองค์การ ในขณะที่มีเพียงปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับตําแหน่งเท่านั้น ที่ส่งผลต่อความรู้สึก ผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย
5. การรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกผูกพันต่อ องค์การ ของพนักงานองค์การธุรกิจประกันภัยไทย อเมริกัน และญี่ปุ่น
http://www.thaihrhub.com/index.php/archives/research-view/research-121/
Ton- Admin
- จำนวนข้อความ : 127
Join date : 03/05/2009
: 48
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ