ความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนหลุยส์
หน้า 1 จาก 1
ความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนหลุยส์
เรื่อง ความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนหลุยส์
ผู้จัดทำ อริยพร กาญจนวัฒน์
จัดทำเมื่อ เมษายน 2549
ความสำคัญของการวิจัย
ผลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารโรงเรียนเซนต์หลุยส์ และผู้บริหารการศึกษาในระดับต่างๆ เนื่องจากสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย เพื่อใช้ในการวางแผนปรับปรุงการบริหารบุคลากรของฝ่ายบริหาร และแก้ไขสภาพการทำงานของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นไป
คำถามของการวิจัย
1.ความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์โดยรวม และจำแนกตามเพศประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทงานที่ปฏิบัติ อยู่ในระดับใด
2.ความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์โดยรวม และจำแนกตามเพศประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทงานที่ปฏิบัติ แตกต่างกันหรือไม่
สมมติฐานการวิจัย
1.ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีเพศต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน
2.ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน
3.ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน
4.ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีประเภทของงานที่ปฏิบัติต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน
ขอบเขตกรวิจัย
1. ขอบเขตเนื้อหา
การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ตามแนวคิดของคุก และวอลล์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ลักษณะ ดังนี้
1.1 การแสดงตน
1.2 การมีความเกี่ยวพัน
1.3 ความภักดี
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ปีการศึกษา 2548 จำนวน 240 คน โดยแบ่งออกเป็นครูผู้สอน จำนวน 170 คน ครูสนับสนุนการสอน จำนวน 70 คน
2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ปีการศึกษา 2548 ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน ได้จำนวน 148 คน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เป็นครูผู้สอน จำนวน 104 คน ครูสนับสนุนการสอน จำนวน 44 คน
3. ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรต้นประกอบด้วย
3.1.1 เพศ แบ่งออกเป็น
3.1.1.1 เพศชาย
3.1.1.2 เพศหญิง
3.1.2 ประสบการณ์การทำงาน แบ่งออกเป็น
3.1.2.1 ประสบการณ์มาก
3.1.2.2 ประสบการณ์น้อย
3.1.3 วุฒิการศึกษา แบ่งออกเป็น
3.1.3.1 ต่ำกว่าปริญญาตรี
3.1.3.2 ปริญญาตรี
3.1.3.3 สูงกว่าปริญญาตรี
3.1.4 ประเภทของงานที่ปฏิบัติ แบ่งออกเป็น
3.1.4.1 ครูผู้สอน
3.1.4.2 ครูสนับสนุนการสอน
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่
3.2.1 ความผูกพันต่อองค์การ ประกอบด้วย 3 ลักษณะดังนี้
3.2.1.1 การแสดงตน
3.2.1.2 การมีความเกี่ยวพัน
3.2.1.3 ความภักดี
กรอบความคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเรื่องบความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ โดยอาศัยแนวคิดของคุก และวอลล์ ซึ่งกล่าวว่า ความผูกพันต่อองค์การเป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อองค์การ อยากที่จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์การ และความปรารถนาที่จะเป็นสมาชิกขององค์การที่สามารถจะช่วยให้องค์การบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ลักษณะ 1) การแสดงตน 2) การมีความเกี่ยวพัน 3) ความภักดี โดยจำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทของงานที่ปฏิบัติ และสรุปออกเป็นกรอบความคิดในการวิจัย
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุงหมายเพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทของงานที่ปฏิบัติ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษากับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
1.ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ จำนวน 240 คน ซึ่งแบ่งเป็นครูผู้สอน จำนวน 170 คน และครูสนับสนุนการสอน จำนวน 70 คน
2.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ จำนวน 148 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ตามประเภทของงานที่ปฏิบัติจากประชากรที่เป็นครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ได้ครูเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 148 คน แบ่งเป็นครูผู้สอน 104 คน และครูสนับสนุนการสอน 44 คน โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลของครูโรงเรียนเซนหลุยส์ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการ (Check List) และเติมคำ จำนวน 4 ข้อ
ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความผูกพันที่มีต่อองค์การ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ โดยเรียงจากมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด โดยแบบสอบถามเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การนี้ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 ด้านการแสดงตน จำนวน 15 ข้อ ด้านที่ 2 ด้านการมีความเกี่ยวพัน จำนวน 15 ข้อ และด้านสุดท้าย ได้แก่ ด้านความภักดี จำนวน 11 ข้อ รวมทั้งสิ้น 41 ข้อ
การสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพเครื่องมือ
1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการสร้างเครื่องมือวิจัย
2.ศึกษาแบบวัดความผูกพันต่อองค์การของ คุก และวอลล์ (Cook & wall, 1980 อ้างใน ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์,2532,หน้า 16) และวิธีการสร้างแบบสอบถามประเภทเลือกตอบ และมาตราส่วนประมาณค่า
3.กำหนดขอบเขตของแบบสอบถามตามแนวคิดของคุก และวอลล์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการแสดงตน 2)ด้านการมีความเกี่ยวพัน 3)ด้านความภักดี เพื่อใช้เป็นแนวทางสร้างแบบสอบถามความผูกพันต่อองค์การ
4.นำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ คุก และวอลล์ เสนอต่อคณะกรรมการครวบคุมงานนิพนธ์ตรวจสอบความครอบคลุมของเนื้อหา ความสมบูรณ์ของข้อความและ ความถูกต้องในการใช้ภาษา (Wording) แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไข
5.นำแบบสอบถามที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้ว ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านพิจารณาตรวจสอบความเที่ยงเชิงเนื้อหา
6.นำแบบสอบถามมาปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำมาเสนอคณะกรรมการควบคุมงานนิพนธ์ เพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุงขั้นตอนสุดท้าย
7.นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับครูโรงเรียนเซนหลุยส์ จำนวน 30 คน ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ด้วยวิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม ผลปรากฏว่า แบบสอบถามทุกข้อมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .25 - .89 ซึ่งอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
8.นำแบบสอบถามที่มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตามที่ยอมรับได้ไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า(Coefficient Alpha) ของครอนบาค โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows ผลการวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ปรากฏว่า ด้านการแสดงตน มีความเชื่อมั่น .87 ด้านการมีความเกี่ยวพัน มีความเชื่อมั่น .93 และด้านความภักดี มีความเชื่อมั่น .95
9.นำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว มาตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้ความสมบูรณ์มากที่สุด แล้วนำไปเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างเพื่อทำการวิจัยต่อไป
วิธีการเก็บข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. ผู้วิจัยขอหนังสือจากภาควิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ถึงผู้อำนวยการโรงเรียนเซนหลุยส์ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยประสานงานกับ หัวหน้าฝ่ายต่างๆ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูลและกลุ่มตัวอย่าง
2.ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม จำนวน 148 ฉบับ ให้กับครู โรงเรียนเซนหลุยส์ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยแบ่งออกเป็น ครูผู้สอนจำนวน 104 คน ครูสนับสนุนการสอน จำนวน 44 คน และได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมา จำนวน 148 ฉบับ
การจัดกระทำข้อมูล
เมื่อผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืนมาแล้ว ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์มาลงรหัส และให้คะแนนแต่ละข้อตามน้ำหนักคะแนนที่กำหนดไว้
2.บันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows
3.นำผลการคำนวณมาวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมาย และสมมติฐานของการวิจัยต่อไป
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้เลือกใช้ตามข้อมูลที่จะวิเคราะห์ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งหมายและสมมติฐานของการวิจัย ดังต่อไปนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ
2.การวิเคราะห์เพื่อหาค่าระดับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทของงานที่ปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ
2.1. ค่าเฉลี่ย ( ) แล้วนำคะแนนเฉลี่ยไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อจัดอันดับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนหลุยส์
2.2. ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เพื่อแสดงความแปรปรวนมาตรฐานของค่าคะแนน
1. ทดสอบสมมติฐานที่ 1 “ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีเพศต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน” สถิติที่ใช้ทดสอบคือ t – test
2.ทดสอบสมมติฐานที่ 2 “ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน” สถิติที่ใช้ทดสอบคือ t – test
3.ทดสอบสมมติฐานที่ 3 “ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน” สถิติที่ใช้ทดสอบคือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
4.ทดสอบสมมติฐานที่ 4 “ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีประเภทของงานที่ปฏิบัติต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน” สถิติที่ใช้ทดสอบคือ t – test
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนหลุยส์ โดยรวมอยู่ในระดับมากและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามอันดับดังนี้ ด้านการแสดงตน ด้านการมีความเกี่ยวพัน และด้านความภักดี ส่วนด้านความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนหลุยส์โดยรวมเมื่อจำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทของงานที่ปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามอันดับดังนี้ ด้านการมีความเกี่ยวพัน ด้านการแสดงตน และด้านความภักดี เช่นเดียวกันตัวแปร ยกเว้นความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนหลุยส์ โดยรวมที่มีวุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี เรียงตามอันดับดังนี้ ด้านการมีความเกี่ยวพัน ด้านการแสดงตน ด้านความภักดี และด้านความผูกพันต่อองค์การของครูดรงเรียนเซนหลุยส์โดยรวมที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี เรียงอันดับดังนี้ ด้านการแสดงตน ด้านความภักดี ด้านการมีความเกี่ยวพัน
2.ครูโรงเรียนเซนหลุยส์ที่มีเพศ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทของงานที่ปฏิบัติที่แตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การโดยรวมและรายด้าน ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการแสดงตน ด้านการมีความเกี่ยวพัน และด้านความภักดี แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
หมวดหมู่: เรื่องทั่วไป
คำสำคัญ: สรุปงานวิจัย
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
สร้าง: พ. 09 ธ.ค. 2552 @ 14:10 แก้ไข: พ. 09 ธ.ค. 2552 @ 14:10
http://gotoknow.org/blog/warapornresearuh/319111
ผู้จัดทำ อริยพร กาญจนวัฒน์
จัดทำเมื่อ เมษายน 2549
ความสำคัญของการวิจัย
ผลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารโรงเรียนเซนต์หลุยส์ และผู้บริหารการศึกษาในระดับต่างๆ เนื่องจากสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย เพื่อใช้ในการวางแผนปรับปรุงการบริหารบุคลากรของฝ่ายบริหาร และแก้ไขสภาพการทำงานของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นไป
คำถามของการวิจัย
1.ความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์โดยรวม และจำแนกตามเพศประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทงานที่ปฏิบัติ อยู่ในระดับใด
2.ความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์โดยรวม และจำแนกตามเพศประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทงานที่ปฏิบัติ แตกต่างกันหรือไม่
สมมติฐานการวิจัย
1.ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีเพศต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน
2.ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน
3.ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน
4.ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีประเภทของงานที่ปฏิบัติต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน
ขอบเขตกรวิจัย
1. ขอบเขตเนื้อหา
การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ตามแนวคิดของคุก และวอลล์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ลักษณะ ดังนี้
1.1 การแสดงตน
1.2 การมีความเกี่ยวพัน
1.3 ความภักดี
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ปีการศึกษา 2548 จำนวน 240 คน โดยแบ่งออกเป็นครูผู้สอน จำนวน 170 คน ครูสนับสนุนการสอน จำนวน 70 คน
2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ปีการศึกษา 2548 ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน ได้จำนวน 148 คน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เป็นครูผู้สอน จำนวน 104 คน ครูสนับสนุนการสอน จำนวน 44 คน
3. ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรต้นประกอบด้วย
3.1.1 เพศ แบ่งออกเป็น
3.1.1.1 เพศชาย
3.1.1.2 เพศหญิง
3.1.2 ประสบการณ์การทำงาน แบ่งออกเป็น
3.1.2.1 ประสบการณ์มาก
3.1.2.2 ประสบการณ์น้อย
3.1.3 วุฒิการศึกษา แบ่งออกเป็น
3.1.3.1 ต่ำกว่าปริญญาตรี
3.1.3.2 ปริญญาตรี
3.1.3.3 สูงกว่าปริญญาตรี
3.1.4 ประเภทของงานที่ปฏิบัติ แบ่งออกเป็น
3.1.4.1 ครูผู้สอน
3.1.4.2 ครูสนับสนุนการสอน
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่
3.2.1 ความผูกพันต่อองค์การ ประกอบด้วย 3 ลักษณะดังนี้
3.2.1.1 การแสดงตน
3.2.1.2 การมีความเกี่ยวพัน
3.2.1.3 ความภักดี
กรอบความคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเรื่องบความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ โดยอาศัยแนวคิดของคุก และวอลล์ ซึ่งกล่าวว่า ความผูกพันต่อองค์การเป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อองค์การ อยากที่จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์การ และความปรารถนาที่จะเป็นสมาชิกขององค์การที่สามารถจะช่วยให้องค์การบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ลักษณะ 1) การแสดงตน 2) การมีความเกี่ยวพัน 3) ความภักดี โดยจำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทของงานที่ปฏิบัติ และสรุปออกเป็นกรอบความคิดในการวิจัย
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุงหมายเพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทของงานที่ปฏิบัติ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษากับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
1.ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ จำนวน 240 คน ซึ่งแบ่งเป็นครูผู้สอน จำนวน 170 คน และครูสนับสนุนการสอน จำนวน 70 คน
2.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ จำนวน 148 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ตามประเภทของงานที่ปฏิบัติจากประชากรที่เป็นครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ได้ครูเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 148 คน แบ่งเป็นครูผู้สอน 104 คน และครูสนับสนุนการสอน 44 คน โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลของครูโรงเรียนเซนหลุยส์ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการ (Check List) และเติมคำ จำนวน 4 ข้อ
ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความผูกพันที่มีต่อองค์การ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ โดยเรียงจากมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด โดยแบบสอบถามเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การนี้ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 ด้านการแสดงตน จำนวน 15 ข้อ ด้านที่ 2 ด้านการมีความเกี่ยวพัน จำนวน 15 ข้อ และด้านสุดท้าย ได้แก่ ด้านความภักดี จำนวน 11 ข้อ รวมทั้งสิ้น 41 ข้อ
การสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพเครื่องมือ
1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการสร้างเครื่องมือวิจัย
2.ศึกษาแบบวัดความผูกพันต่อองค์การของ คุก และวอลล์ (Cook & wall, 1980 อ้างใน ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์,2532,หน้า 16) และวิธีการสร้างแบบสอบถามประเภทเลือกตอบ และมาตราส่วนประมาณค่า
3.กำหนดขอบเขตของแบบสอบถามตามแนวคิดของคุก และวอลล์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการแสดงตน 2)ด้านการมีความเกี่ยวพัน 3)ด้านความภักดี เพื่อใช้เป็นแนวทางสร้างแบบสอบถามความผูกพันต่อองค์การ
4.นำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ คุก และวอลล์ เสนอต่อคณะกรรมการครวบคุมงานนิพนธ์ตรวจสอบความครอบคลุมของเนื้อหา ความสมบูรณ์ของข้อความและ ความถูกต้องในการใช้ภาษา (Wording) แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไข
5.นำแบบสอบถามที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้ว ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านพิจารณาตรวจสอบความเที่ยงเชิงเนื้อหา
6.นำแบบสอบถามมาปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำมาเสนอคณะกรรมการควบคุมงานนิพนธ์ เพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุงขั้นตอนสุดท้าย
7.นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับครูโรงเรียนเซนหลุยส์ จำนวน 30 คน ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ด้วยวิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม ผลปรากฏว่า แบบสอบถามทุกข้อมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .25 - .89 ซึ่งอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
8.นำแบบสอบถามที่มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตามที่ยอมรับได้ไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า(Coefficient Alpha) ของครอนบาค โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows ผลการวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ปรากฏว่า ด้านการแสดงตน มีความเชื่อมั่น .87 ด้านการมีความเกี่ยวพัน มีความเชื่อมั่น .93 และด้านความภักดี มีความเชื่อมั่น .95
9.นำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว มาตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้ความสมบูรณ์มากที่สุด แล้วนำไปเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างเพื่อทำการวิจัยต่อไป
วิธีการเก็บข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. ผู้วิจัยขอหนังสือจากภาควิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ถึงผู้อำนวยการโรงเรียนเซนหลุยส์ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยประสานงานกับ หัวหน้าฝ่ายต่างๆ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูลและกลุ่มตัวอย่าง
2.ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม จำนวน 148 ฉบับ ให้กับครู โรงเรียนเซนหลุยส์ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยแบ่งออกเป็น ครูผู้สอนจำนวน 104 คน ครูสนับสนุนการสอน จำนวน 44 คน และได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมา จำนวน 148 ฉบับ
การจัดกระทำข้อมูล
เมื่อผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืนมาแล้ว ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์มาลงรหัส และให้คะแนนแต่ละข้อตามน้ำหนักคะแนนที่กำหนดไว้
2.บันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows
3.นำผลการคำนวณมาวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมาย และสมมติฐานของการวิจัยต่อไป
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้เลือกใช้ตามข้อมูลที่จะวิเคราะห์ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งหมายและสมมติฐานของการวิจัย ดังต่อไปนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ
2.การวิเคราะห์เพื่อหาค่าระดับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทของงานที่ปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ
2.1. ค่าเฉลี่ย ( ) แล้วนำคะแนนเฉลี่ยไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อจัดอันดับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนหลุยส์
2.2. ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เพื่อแสดงความแปรปรวนมาตรฐานของค่าคะแนน
1. ทดสอบสมมติฐานที่ 1 “ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีเพศต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน” สถิติที่ใช้ทดสอบคือ t – test
2.ทดสอบสมมติฐานที่ 2 “ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน” สถิติที่ใช้ทดสอบคือ t – test
3.ทดสอบสมมติฐานที่ 3 “ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน” สถิติที่ใช้ทดสอบคือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
4.ทดสอบสมมติฐานที่ 4 “ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่มีประเภทของงานที่ปฏิบัติต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน” สถิติที่ใช้ทดสอบคือ t – test
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนหลุยส์ โดยรวมอยู่ในระดับมากและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามอันดับดังนี้ ด้านการแสดงตน ด้านการมีความเกี่ยวพัน และด้านความภักดี ส่วนด้านความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนหลุยส์โดยรวมเมื่อจำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทของงานที่ปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามอันดับดังนี้ ด้านการมีความเกี่ยวพัน ด้านการแสดงตน และด้านความภักดี เช่นเดียวกันตัวแปร ยกเว้นความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเซนหลุยส์ โดยรวมที่มีวุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี เรียงตามอันดับดังนี้ ด้านการมีความเกี่ยวพัน ด้านการแสดงตน ด้านความภักดี และด้านความผูกพันต่อองค์การของครูดรงเรียนเซนหลุยส์โดยรวมที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี เรียงอันดับดังนี้ ด้านการแสดงตน ด้านความภักดี ด้านการมีความเกี่ยวพัน
2.ครูโรงเรียนเซนหลุยส์ที่มีเพศ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และประเภทของงานที่ปฏิบัติที่แตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การโดยรวมและรายด้าน ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการแสดงตน ด้านการมีความเกี่ยวพัน และด้านความภักดี แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
หมวดหมู่: เรื่องทั่วไป
คำสำคัญ: สรุปงานวิจัย
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
สร้าง: พ. 09 ธ.ค. 2552 @ 14:10 แก้ไข: พ. 09 ธ.ค. 2552 @ 14:10
http://gotoknow.org/blog/warapornresearuh/319111
Ton- Admin
- จำนวนข้อความ : 127
Join date : 03/05/2009
: 48
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ