ชีวิตพนักงาน 2006 ความภักดีองค์กร-เงินเดือนที่คุ้มค่า ที่แทบหายากในปัจจุบัน
หน้า 1 จาก 1
ชีวิตพนักงาน 2006 ความภักดีองค์กร-เงินเดือนที่คุ้มค่า ที่แทบหายากในปัจจุบัน
ในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจอันเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่วุ่นวายขณะนี้ ไม่เพียงส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศชาติ ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อองค์กรธุกริจด้วย
ที่ไม่เพียงจะต้องปรับตัวขนานใหญ่ หากพนักงานในองค์กรหลายคนยังจะต้องปรับตัวตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นวิธีการทำงาน การทุ่มเทในการทำงาน รวมไปถึงการเบิกจ่ายอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในสำนักงานด้วย
ยิ่งบางองค์กรเป็นองค์กรอนุรักษนิยม เป็นองค์กรขนาดเล็กหรือเป็นองค์กรที่มีพนักงานเพียงไม่กี่ร้อยกี่พันคน ยิ่งจะต้องปรับตัวขนานใหญ่
ขณะที่บางองค์กรเป็นองค์กรข้ามชาติ เป็นองค์กรที่มีพนักงานทั้งในส่วนของ back office และ front office ซึ่งรวมแล้วมีมากกว่าหลายพันคนขึ้นไป จนกระทั่งถึงหลักหมื่นอาจจะต้องปรับตัวลงมาบ้าง
โดยเฉพาะในส่วนของพนักงาน front office ที่ประจำอยู่ตามโรงงานต่างๆ
กล่าวกันว่า เหตุและปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยรวมจนทำให้พนักงานหรือลูกจ้างของบางองค์กรเริ่มไม่ค่อยมั่นใจในชีวิตพนักงานหรือลูกจ้างนั้นเป็นเพราะต้นทุนค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เพิ่มขึ้น
ทั้งในส่วนของคอร์สการลงทุนที่ต้องเกี่ยวข้องกับการขยายการลงทุน ภาวะน้ำมัน ภาวะดอกเบี้ย รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้คอร์สการลงทุนเพิ่มขึ้น
รวมไปถึงต้นทุนเงินเดือนของพนักงานทั้งหมดด้วย
เหตุนี้เองจึงทำให้พนักงานหลายคนที่เชื่อว่าตนเองมีศักยภาพการทำงานเพียงพอ มีความสามารถและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จึงอยากที่จะเปลี่ยนงานไปยังบริษัทที่ดีกว่า
ยิ่งเฉพาะบริษัทข้ามชาติ
บริษัทที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง
หรือบริษัทที่ให้โอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน
ขณะเดียวกัน ก็มีพนักงานหลายคนชอบที่จะอยู่กับบริษัทขนาดเล็ก เพราะเชื่อว่า "โตในที่เล็ก ดีกว่าเล็กในที่ใหญ่" เป็นไหนๆ
เพราะฉะนั้น เมื่อมาดูข้อมูลการสำรวจของสถาบัน AMA ซึ่งเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา จึงพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า
ผู้ตอบแบบสำรวจในเขตละตินอเมริกาส่วนใหญ่ มักชอบอยู่กับบริษัทขนาดเล็ก (มี 81.5% ของบริษัททั้งหมดที่มีพนักงานน้อยกว่า 1,000 คน)
ผู้ตอบแบบสำรวจในยุโรปตะวันตก มักจะทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีพนักงานมากกว่า 10,000 คน คิดเฉลี่ยเป็น 33.2%
ถามว่าแบบสำรวจนี้เกี่ยวข้องอะไรกับพนักงานในองค์กร ?
คำตอบคือเกี่ยวข้องโดยตรงกับความเป็นผู้นำองค์กร
เพราะในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ผู้นำองค์กรจะต้องเป็นแม่ทัพในการบัญชาการรบที่จะให้องค์กรนั้นๆ ประสบความสำเร็จ
สามารถฟันฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจให้ได้
และจะต้องจัดทัพองค์กรที่ดี
เหตุนี้เองทำให้แบบสำรวจจึงลงรายละเอียดไปถึงการจำแนกตามความมั่นคงขององค์กร โดยบอกว่าบริษัทผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มั่นคง (93.9%) และมีบริษัทที่เพิ่งเริ่มธุรกิจ 6.1% อย่างไรก็ดีในบางภูมิภาคมีจำนวนบริษัทที่เพิ่งเริ่มธุรกิจอยู่ในระดับที่สูงกว่านี้ ได้แก่ ตะวันออกกลาง (21.1%) ละตินอเมริกา (18.5%) และเอเชีย (15.0%)
ซึ่งในประเด็นนี้จะเห็นว่าบริษัทที่มั่นคงอยู่ในเอเชียเพียง 15.0% เท่านั้นเอง และส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทข้ามชาติ
หรือเป็นบริษัทลูกผสม
หรือเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เพราะฉะนั้น เมื่อมาดูข้อมูลอีกส่วนหนึ่งที่ทางสถาบันบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาจากแบบสำรวจเรื่อง "Employment Branding" จะพบว่า
การสำรวจประชาชนกว่า 35,600 คน จาก 16 ประเทศทั่วโลก พบว่ามีบริษัทที่มีชื่อเสียงในระดับโลกเพียง 1,317 บริษัทเท่านั้นที่พนักงานอยากทำงานด้วย
อาทิ แมคโดนัลด์, โนเกีย, วอล-มาร์ต, ธนาคารแห่งสหรัฐอเมริกา,นอร์ดสตรอม์ และบริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์ หรือเดมเลอร์ไครสเลอร์ในปัจจุบัน
ถามว่าเพราะเหตุใด ?
ทำไม ?
พนักงานเหล่านี้ถึงอยากทำงานกับองค์กรชั้นนำระดับโลก คำตอบคงไม่ยากเพราะองค์กรเหล่านั้นมีเงินเดือนและสวัสดิการที่ดี
มีโอกาสเติบโตในสายงาน
และมีความท้าทายซ่อนอยู่เสมอ
ที่สำคัญองค์กรเหล่านี้มีความมั่นคงในธุรกิจอย่างแข็งแรง จึงทำให้ใครก็ตามที่มีโอกาสเข้าไปทำงานยังบริษัทเหล่านี้จึงค่อนข้างที่จะหาหลักประกันกับชีวิตได้ค่อนข้างดี
ขณะที่อีกหลายร้อยหลายพันบริษัทกลับเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจไปอย่างเรียบง่าย ไม่หวือหวา แต่กระนั้นก็ใช่ว่าจะสู้บริษัทข้ามชาติไม่ได้เลย
ตรงข้ามสู้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ชื่อชั้นหรือ Employment Branding อาจไม่ดึงดูดเพียงพอ ที่จะทำให้พนักงานเลือกที่จะเข้ามาทำงานในองค์กร
ฉะนั้น จึงไม่แปลกที่ปัจจุบันจึงค่อนข้างพบเห็นอยู่เสมอว่าเมื่อมีการรับโบนัสกลางปี พนักงานในระดับปฏิบัติงานที่มีอายุ 2-3 ปี หรือ 3-5 ปีจึงค่อนข้างที่จะเปลี่ยนแปลงงานค่อนข้างสูง
ขณะเดียวกัน พนักงานในระดับ Middle Management ขึ้นไปก็พยายามที่จะย้ายตัวเองไปสู่บริษัทที่ให้ผลตอบแทนสูงเช่นกัน
เพราะเขาและเธอมองเห็นแล้วว่า หากอยู่ในตำแหน่งนี้ต่อไปโอกาสก้าวหน้าในชีวิตคงไม่ถึงดวงดาว สู่ไปใหญ่ในที่อื่นคงจะดีกว่า
ฉะนั้น จึงไม่แปลกที่ภาวะเศรษฐกิจเป็นอยู่อย่างนี้ จึงอาจทำให้พนักงานบางคนเริ่มขยับขยาย เริ่มที่จะหาความหวังใหม่ให้กับชีวิตตนเอง
เพราะเขามองเห็นแล้วว่าบริษัทกำลังจะไปไม่รอด
บริษัทกำลังจะเลย์ออฟพนักงาน
และบริษัทกำลังลดการผลิต
ดังนั้น ถ้าเขาอยู่ต่อไปเขาอาจเป็นคนหนึ่งที่ถูกเฉดหัวไปเมื่อไรก็ได้ ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดเขาและเธอจึงเลือกที่จะเอาโบนัสกลางปี เลือกที่จะซุ่มหางานใหม่อย่างเงียบๆ
เพื่อรอว่าถ้ามีโอกาสเมื่อไร เขาก็พร้อมที่จะโบยบินทันที
โดยไม่มีความภักดีองค์กรหลงเหลืออยู่เลย ?
หน้า 51
ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
http://www.siamhrm.com/?name=article&file=read&max=321
ที่ไม่เพียงจะต้องปรับตัวขนานใหญ่ หากพนักงานในองค์กรหลายคนยังจะต้องปรับตัวตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นวิธีการทำงาน การทุ่มเทในการทำงาน รวมไปถึงการเบิกจ่ายอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในสำนักงานด้วย
ยิ่งบางองค์กรเป็นองค์กรอนุรักษนิยม เป็นองค์กรขนาดเล็กหรือเป็นองค์กรที่มีพนักงานเพียงไม่กี่ร้อยกี่พันคน ยิ่งจะต้องปรับตัวขนานใหญ่
ขณะที่บางองค์กรเป็นองค์กรข้ามชาติ เป็นองค์กรที่มีพนักงานทั้งในส่วนของ back office และ front office ซึ่งรวมแล้วมีมากกว่าหลายพันคนขึ้นไป จนกระทั่งถึงหลักหมื่นอาจจะต้องปรับตัวลงมาบ้าง
โดยเฉพาะในส่วนของพนักงาน front office ที่ประจำอยู่ตามโรงงานต่างๆ
กล่าวกันว่า เหตุและปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยรวมจนทำให้พนักงานหรือลูกจ้างของบางองค์กรเริ่มไม่ค่อยมั่นใจในชีวิตพนักงานหรือลูกจ้างนั้นเป็นเพราะต้นทุนค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เพิ่มขึ้น
ทั้งในส่วนของคอร์สการลงทุนที่ต้องเกี่ยวข้องกับการขยายการลงทุน ภาวะน้ำมัน ภาวะดอกเบี้ย รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้คอร์สการลงทุนเพิ่มขึ้น
รวมไปถึงต้นทุนเงินเดือนของพนักงานทั้งหมดด้วย
เหตุนี้เองจึงทำให้พนักงานหลายคนที่เชื่อว่าตนเองมีศักยภาพการทำงานเพียงพอ มีความสามารถและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จึงอยากที่จะเปลี่ยนงานไปยังบริษัทที่ดีกว่า
ยิ่งเฉพาะบริษัทข้ามชาติ
บริษัทที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง
หรือบริษัทที่ให้โอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน
ขณะเดียวกัน ก็มีพนักงานหลายคนชอบที่จะอยู่กับบริษัทขนาดเล็ก เพราะเชื่อว่า "โตในที่เล็ก ดีกว่าเล็กในที่ใหญ่" เป็นไหนๆ
เพราะฉะนั้น เมื่อมาดูข้อมูลการสำรวจของสถาบัน AMA ซึ่งเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา จึงพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า
ผู้ตอบแบบสำรวจในเขตละตินอเมริกาส่วนใหญ่ มักชอบอยู่กับบริษัทขนาดเล็ก (มี 81.5% ของบริษัททั้งหมดที่มีพนักงานน้อยกว่า 1,000 คน)
ผู้ตอบแบบสำรวจในยุโรปตะวันตก มักจะทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีพนักงานมากกว่า 10,000 คน คิดเฉลี่ยเป็น 33.2%
ถามว่าแบบสำรวจนี้เกี่ยวข้องอะไรกับพนักงานในองค์กร ?
คำตอบคือเกี่ยวข้องโดยตรงกับความเป็นผู้นำองค์กร
เพราะในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ผู้นำองค์กรจะต้องเป็นแม่ทัพในการบัญชาการรบที่จะให้องค์กรนั้นๆ ประสบความสำเร็จ
สามารถฟันฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจให้ได้
และจะต้องจัดทัพองค์กรที่ดี
เหตุนี้เองทำให้แบบสำรวจจึงลงรายละเอียดไปถึงการจำแนกตามความมั่นคงขององค์กร โดยบอกว่าบริษัทผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มั่นคง (93.9%) และมีบริษัทที่เพิ่งเริ่มธุรกิจ 6.1% อย่างไรก็ดีในบางภูมิภาคมีจำนวนบริษัทที่เพิ่งเริ่มธุรกิจอยู่ในระดับที่สูงกว่านี้ ได้แก่ ตะวันออกกลาง (21.1%) ละตินอเมริกา (18.5%) และเอเชีย (15.0%)
ซึ่งในประเด็นนี้จะเห็นว่าบริษัทที่มั่นคงอยู่ในเอเชียเพียง 15.0% เท่านั้นเอง และส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทข้ามชาติ
หรือเป็นบริษัทลูกผสม
หรือเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เพราะฉะนั้น เมื่อมาดูข้อมูลอีกส่วนหนึ่งที่ทางสถาบันบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาจากแบบสำรวจเรื่อง "Employment Branding" จะพบว่า
การสำรวจประชาชนกว่า 35,600 คน จาก 16 ประเทศทั่วโลก พบว่ามีบริษัทที่มีชื่อเสียงในระดับโลกเพียง 1,317 บริษัทเท่านั้นที่พนักงานอยากทำงานด้วย
อาทิ แมคโดนัลด์, โนเกีย, วอล-มาร์ต, ธนาคารแห่งสหรัฐอเมริกา,นอร์ดสตรอม์ และบริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์ หรือเดมเลอร์ไครสเลอร์ในปัจจุบัน
ถามว่าเพราะเหตุใด ?
ทำไม ?
พนักงานเหล่านี้ถึงอยากทำงานกับองค์กรชั้นนำระดับโลก คำตอบคงไม่ยากเพราะองค์กรเหล่านั้นมีเงินเดือนและสวัสดิการที่ดี
มีโอกาสเติบโตในสายงาน
และมีความท้าทายซ่อนอยู่เสมอ
ที่สำคัญองค์กรเหล่านี้มีความมั่นคงในธุรกิจอย่างแข็งแรง จึงทำให้ใครก็ตามที่มีโอกาสเข้าไปทำงานยังบริษัทเหล่านี้จึงค่อนข้างที่จะหาหลักประกันกับชีวิตได้ค่อนข้างดี
ขณะที่อีกหลายร้อยหลายพันบริษัทกลับเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจไปอย่างเรียบง่าย ไม่หวือหวา แต่กระนั้นก็ใช่ว่าจะสู้บริษัทข้ามชาติไม่ได้เลย
ตรงข้ามสู้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ชื่อชั้นหรือ Employment Branding อาจไม่ดึงดูดเพียงพอ ที่จะทำให้พนักงานเลือกที่จะเข้ามาทำงานในองค์กร
ฉะนั้น จึงไม่แปลกที่ปัจจุบันจึงค่อนข้างพบเห็นอยู่เสมอว่าเมื่อมีการรับโบนัสกลางปี พนักงานในระดับปฏิบัติงานที่มีอายุ 2-3 ปี หรือ 3-5 ปีจึงค่อนข้างที่จะเปลี่ยนแปลงงานค่อนข้างสูง
ขณะเดียวกัน พนักงานในระดับ Middle Management ขึ้นไปก็พยายามที่จะย้ายตัวเองไปสู่บริษัทที่ให้ผลตอบแทนสูงเช่นกัน
เพราะเขาและเธอมองเห็นแล้วว่า หากอยู่ในตำแหน่งนี้ต่อไปโอกาสก้าวหน้าในชีวิตคงไม่ถึงดวงดาว สู่ไปใหญ่ในที่อื่นคงจะดีกว่า
ฉะนั้น จึงไม่แปลกที่ภาวะเศรษฐกิจเป็นอยู่อย่างนี้ จึงอาจทำให้พนักงานบางคนเริ่มขยับขยาย เริ่มที่จะหาความหวังใหม่ให้กับชีวิตตนเอง
เพราะเขามองเห็นแล้วว่าบริษัทกำลังจะไปไม่รอด
บริษัทกำลังจะเลย์ออฟพนักงาน
และบริษัทกำลังลดการผลิต
ดังนั้น ถ้าเขาอยู่ต่อไปเขาอาจเป็นคนหนึ่งที่ถูกเฉดหัวไปเมื่อไรก็ได้ ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดเขาและเธอจึงเลือกที่จะเอาโบนัสกลางปี เลือกที่จะซุ่มหางานใหม่อย่างเงียบๆ
เพื่อรอว่าถ้ามีโอกาสเมื่อไร เขาก็พร้อมที่จะโบยบินทันที
โดยไม่มีความภักดีองค์กรหลงเหลืออยู่เลย ?
หน้า 51
ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
http://www.siamhrm.com/?name=article&file=read&max=321
Ton- Admin
- จำนวนข้อความ : 127
Join date : 03/05/2009
: 48
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ