M.B.A. for Modern Managers (Saturday Program)
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ทฤษฎีจิตวิทยาปัจเจกบุคคล ของ Alfred Adler

Go down

ทฤษฎีจิตวิทยาปัจเจกบุคคล ของ Alfred Adler Empty ทฤษฎีจิตวิทยาปัจเจกบุคคล ของ Alfred Adler

ตั้งหัวข้อ  Ton Thu Mar 04, 2010 9:21 pm

ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference Theory)
เป็นทฤษฎีที่ชี้ให้เห็นว่าผู้รับสารแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันในทางจิตวิทยาเช่น ทัศนคติ ค่านิยมและความเชื่อ ทำให้คนสนใจในการเปิดรับข่าวสารหรือตีความหมายข่าวสารจากสื่อมวลชนแตกต่างกัน หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีความแตกต่างระหว่างปัจเจกบุคคลมีดังนี้
1. มนุษย์เรามีความแตกต่างกันมากในองค์ประกอบทางจิตวิทยาส่วนบุคคล
2. ความแตกต่างนี้มีบางส่วนมาจากลักษณะแตกต่างทางชีวภาคหรือทางร่างกายของแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากความแตกต่างที่เกิดจากการเรียนรู้
3. มนุษย์ซึ่งถูกชุบเลี้ยงภายใต้สถานการณ์ต่างๆจะเปิดรับความคิดเห็นแตกต่างกันไป
4. การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดทัศนคติค่านิยมและความเชื่อที่รวมเป็นลักษณะทางจิตวิทยาส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไปความแตกต่างดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นสภาวะเงื่อนไข (Conditioning) ที่กำหนดการรับรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural – Functional Theory )แนวความคิดในการพัฒนาทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ที่เป็นผลมาจากการนำเอาแนวความคิดทางด้านชีววิทยามาใช้ โดยอุปมาว่า โครงสร้างของสังคมเป็นเสมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยเซลล์ต่างๆ และมองว่า หน้าที่ของสังคมก็คือ การทำหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยแต่ละส่วนจะช่วยเหลือและเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อให้ระบบทั้งระบบมีชีวิตดำรงอยู่ได้
- โรเบิร์ต เค. เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ได้จำแนกหน้าที่ทางสังคมเป็น 2 ประเภท คือ หน้าที่หลัก (Manifest) หน้าที่รอง (Latent) หน้าที่ที่ไม่พึงปรารถนา (Dysfunctional) หน้าที่ของบางโครงสร้างของสังคมอาจมีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันคนบางส่วนอาจได้รับประโยชน์เพียงน้อยนิดหรืออาจไม่ได้รับประโยชน์เลย ซึ่งรวมไปถึงอาจจะมีคนบางกลุ่มหรือบางส่วนของสังคมได้รับผลเสียจากทำงานของโครงสร้างของสังคมนั้นก็ได้
- อีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) มีแนวความคิดว่า หน้าที่ของสังคมคือ ส่วนที่สนับสนุนให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับ เอ.อาร์ แรดคลิฟฟ์ บราวน์ (A.R. Radcliffe-Brown) กับ โบรนิสลอว์ มาลิโนว์สกี้ (Bronislaw Malinowski) ที่มองว่าหน้าที่ทางสังคมเป็นส่วนสนับสนุนให้โครงสร้างสังคมคงอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะสังคมมีกระบวนการทางสังคมที่ทำให้สังคมเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น บรรทัดฐาน ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณี เป็นต้น
- ทาลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parsons) มีแนวความคิดว่า สังคมเป็นระบบหนึ่งที่มีส่วนต่างๆ มีความสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ที่คงที่ของแต่ละส่วนจะเป็นปัจจัยทำให้ระบบสังคมเกิดความสมดุลย์ถูกทำลายลง เพราะองค์ประกอบของสังคมคือ บุคลิกภาพ อินทรีย์ และวัฒนธรรมเกิดความแตกร้าว โดยมีสาเหตุมาจากทั้งสาเหตุภายนอกระบบสังคม เช่น การเกิดสงคราม การแพร่กระจายของวัฒนธรรม เป็นต้น และสาเหตุจากภายในระบบสังคมที่เกิดจากความตึงเครียด เพราะความสัมพันธ์ของโครงสร้างบางหน่วยหรือหลายๆ หน่วย ทำงานไม่ประสานกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจะเป็นสาเหตุทำให้ส่วนอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งหรืออาจเกิดขึ้นทั้งระบบก็ได้ พาร์สันเน้นความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึง ความเชื่อ บรรทัดฐาน และค่านิยมของสังคม คือ ตัวยึดเหนี่ยวให้สังคมมีการรวมตัวเข้าด้วยกันและเป็นตัวต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม
โดยสรุปแล้ว แนวความคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ มีลักษณะดังนี้
- ในการศึกษาและการวิเคราะห์สังคมต้องมองว่า สังคมทั้งหมดเป็นระบบหนึ่งที่แต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
- ความสัมพันธ์คือสิ่งที่สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล
- ระบบสังคมเป็นการเคลื่อนไหวเข้าสู่ความสมดุลย์การปรับความสมดุลย์ของระบบจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในระบบตามไปด้วยความต่อเนื่องของกระบวนการของข่าวสารจากภายในและภายนอก นอกจากนี้ทฤษฎีระบบยังมองว่า ความขัดแย้ง ความตึงเครียดและความไม่สงบสุขภายในสังคมก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีระบบก็มีข้อจำกัดในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจากในการวิเคราะห์ตามทฤษฎีระบบเป็นการศึกษาเฉพาะเรื่อง จึงทำให้ไม่สามารถศึกษาความสัมพันธ์กับระบบอื่นได้อย่างลึกซึ้ง
สำหรับการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษานำทฤษฎีนี้มาวิเคราะห์ในส่วนที่เกี่ยวโยงกับการเปลี่ยนแปลง สาเหตุและองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงโดยมองลักษณะต่อไปนี้
ประการแรก มนุษย์แต่ละชุมชน แต่ละสังคมมีความพยายามปรับปรุงตนเองตามสถานการณ์ทำให้เกิดการคงอยู่หรือสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม อันเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การจัดการ การแบ่งปันทรัพยากร ตลอดจนการสร้างและรักษาสัมพันธภาพทางสังคมและอารมณ์ ซึ่งปรากฏในรูปลักษณะทางสังคม โครงสร้างความสัมพันธ์ บทบาทหน้าที่
ประการที่สอง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน อันได้แก่การลงทุนพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ ของรัฐบาล การติดต่อพึ่งพาระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท การแพร่กระจายของระบบการค้า และสภาพนิเวศวิทยาของหมู่บ้าน ที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนและพัฒนาอาชีพ ตลอดจนระบบครอบครัว เครือญาติ การเพิ่มของประชากร และการแพร่กระจายของวัฒนธรรมเมืองสู่สังคมชนบท การยอมรับ ค่านิยมปัจเจกบุคคล รวมทั้งประสบการณ์ การท่องเที่ยวของปัจเจกบุคคล และการสื่อสารมวลชนที่เจริญก้าวหน้า
ประการสุดท้าย ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้ระบบความสัมพันธ์ของคน องค์กรในสังคมเป็นอย่างไร และมีแนวโน้มที่สามารถรักษาระบบสังคมไว้หรือจะล่มสลายแปรเปลี่ยนเป็นระบบใหม่หรือไม่
ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory) เป็นแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการทางชีวภาพของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) โดยนักสังคมวิทยาในกลุ่มทฤษฎีวิวัฒนาการเสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับ โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งในลักษณะที่มีการพัฒนาและก้าวหน้ากว่าขั้นที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีรูปแบบเรียบง่ายไปสู่รูปแบบที่สลับซับซ้อนมากขึ้น และมีความเจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นสังคมที่มีความสมบูรณ์ ตัวอย่างของนักสังคมวิทยาที่สร้างทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยใช้แนวความคิดวิวัฒนาการ มีดังนี้
- ออกุสต์ กองต์ (Auguste Comte) เสนอว่า สังคมมนุษย์มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ (Knowledge) ผ่าน 3 ขั้นตอน ตามลำดับ คือ จากขั้นเทววิทยา (Theological stage) ไปสู่ขั้นอภิปรัชญา (Metaphysical stage) และไปสู่ขั้นวิทยาศาสตร์ (Positivistic stage)
- ลิวอิส เฮนรี่ มอร์แกน (Lewis Henry Morgan) เสนอว่า สังคมจะมีขั้นของการพัฒนา 3 ขั้นคือ จากสังคมคนป่า (Savage) ไปสู่สังคมอนาอารยชน (Barbarian) และไปสู่สังคมอารยธรรม (Civilized)
- เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) เสนอว่า วิวัฒนาการของสังคมมนุษย์เป็นแบบสายเดียว (Unilinear) ที่ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกันด้วยและมารวมตัวกันด้วยกระบวนการสังเคราะห์ ทำให้เกิดพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น การพัฒนาของสังคมจะมีวิวัฒนาการเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ กล่าวคือ มนุษย์ที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดีจะมีชีวิตอยู่รอดตลอดไป และนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นต่อไป
- เฟอร์ดินาน ทอยนีย์ (Ferdinand Tonnies) เสนอว่า สังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบ Gemeinschaft ไปสู่สังคมแบบ Gesellschaft
- โรเบิร์ต เรดฟิวด์ (Robert Redfield) เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมจะเริ่มจากสภาพสังคมชาวบ้าน เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแบบเมือง ต่อมาแนวความคิดในการสร้างทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบสายเดียว ที่เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมต้องเปลี่ยนผ่านแต่ละขั้นที่กำหนดไว้ ได้รับการโต้แย้งว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมน่าจะมีวิวัฒนาการแบบหลายสาย เพราะแต่ละสังคมมีจุดกำเนิดที่แตกต่างกัน มีรูปแบบของสังคมที่แตกต่างกัน หรือแม้ว่าสังคมที่มีรูปแบบที่เหมือนกันแต่อาจจะมีสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันก็เป็นได้
ทฤษฎีจิตวิทยา-สังคม (Social-Psychological Theory) จากแนวความคิดด้านจิตวิทยา-สังคม เสนอว่า การพัฒนาทางสังคมเกิดจากการทำงานของปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่เป็นแรงขับให้ประชาชนมีการกระทำ มีความกระตือรือร้น มีการประดิษฐ์ มีการค้นพบ มีการสร้างสรรค์ มีการแย่งชิง มีการก่อสร้าง และพัฒนาสิ่งต่างๆ ภายในสังคม นักสังคมวิทยาที่ใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีดังนี้
- แมค เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยาคนแรกที่ใช้หลักจิตวิทยามาใช้ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และผลงานที่ชื่อว่า The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism เสนอว่า การพัฒนาของในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ตามลัทธิทุนนิยม มีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านจิตวิทยา ที่เกิดขึ้นหลังสมัยศตวรรษที่ 16 เมื่อในยุโรปตะวันตกมีการแพร่กระจายคำสอนของศาสนาคริสต์ ลัทธิโปรแตสแตน ที่สอนให้ศาสนิกชนเกิดจิตวิญญาณแบบทุนนิยมเป็นนักแสวงหาสิ่งใหม่ มุ่งสู่ความสำเร็จเพื่อให้เกิดการยอมรับ ทำงานหนักเพื่อสะสมความร่ำรวย เก็บออมเพื่อนำไปใช้ในการลงทุน สร้างกำไรอย่างต่อเนื่อง เวเบอร์ยังเสนอว่า การพัฒนาของจิตวิญญาณแบบทุนนิยมทำให้เกิดลัทธิความมีเหตุผล ซึ่งภายใต้สังคมที่ใช้ความมีเหตุผลจะทำให้บุคคลมีความน่าเชื่อถือ ซื่อสัตย์ สุจริต ยอมรับสิ่งใหม่และสามารถเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สภาวะแวดล้อมใหม่ๆ เวเบอร์เชื่อว่า อิทธิพลความคิด ความเชื่อ และบุคลิกภาพของคนในสังคมภายใต้สภาวะดังกล่าวมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามมา
- อีวีเรทท์ อี เฮเกน (Everett E. Hagen) มีแนวความคิดสอดคล้องกับเวเบอร์ที่ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีการเริ่มต้นมาจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และเสนอว่าการเปลี่ยนจากสังคมดั้งเดิม ไปสู่สังคมสมัยใหม่ จะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพของบุคคล โดยเสนอว่า บุคลิกภาพของคนในสังคมดั้งเดิมมีลักษณะตายตัวที่ถูกำหนดโดยกลุ่มสังคม เป็นบุคลิกของคนที่ต้องมีการสั่งการด้วยบังคับบัญชา ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และไม่มีการประดิษฐ์คิดค้น เพราะคนเหล่านั้นมองโลกยถากรรมมากกว่าที่จะมองโลกแบบวิเคราะห์ และต้องการควบคุมให้เป็นไปตามที่คิด ซึ่งเป็นผลทำให้สังคมแบบดั้งเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนในสังคมสมัยใหม่เฮเกนเสนอว่า บุคลิกภาพของคนที่มีความสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น และเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ มองโลกที่อยู่รอบตัวเขาอย่างมีเหตุมีผล บุคลิกภาพของคนในสังคมสมัยใหม่จึงเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามเฮเกนได้เสนอว่า บุคลิกของคนในสังคมดั้งเดิมสามารถที่จะเปลี่ยนไปสู่บุคลิกของคนในสังคมสมัยใหม่ได้โดยใช้วิธีการถอดถอนสถานภาพ ด้วยการนำเอาปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจจากสังคมสมัยใหม่เข้าไปแทรกหรือแทนที่ในสังคมดั้งเดิม และยังได้เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมอาจทำได้จากเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของคนในสังคม โดยเริ่มจากการพัฒนาบุคลิกภาพตั้งแต่วัยเด็ก
- เดวิด ซี แม็กคลีล์แลนด์ (David C. McClelland) มีแนวความคิดเหมือนกับเฮเกนที่ดห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ แต่แนวความคิดของ แม็ก – คลีล์แลนด์ เน้นศึกษาที่ตัวแปรด้านแรงจูงใจในความสำเร็จ ซึ่งหมายถึง ความสำเร็จทางเศรษฐกิจของปัจเจกบุคคล และเสนอแนวความคิดว่า ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของสังคมในอดีตและปัจจุบันเป็นผลมาจากแรงจูงใจในความสำเร็จของบุคคล หากคนในสังคมมีแรงจูงใจในความสำเร็จมาก การพัฒนาทางเศรษฐกิจก็จะมีความเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย และเสนอวิธีการสร้างแรงจูงใจในความสำเร็จด้วยการเรียนรู้ โดยสร้างแรงกระตุ้นทั้งภายในและภายนอก
ทฤษฎีภาวะทันสมัย (Modernization Theory) แนวความคิดสำคัญของทฤษฎีการสร้างความเป็นทันสมัยกล่าวว่า สังคมที่ล้าหลังทุกสังคมสามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นทันสมัยได้ โดยจำเป็นต้องมีปัจจัยภายนอกทำหน้าที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยพยายามมุ่งเสริมให้สังคมที่ล้าหลังมีลักษณะทันสมัยมากขึ้น
จุดมุ่งหมายของการพัฒนาตามแนวคิดของทฤษฎีภาวะทันสมัย
1.จุดมุ่งหมายของการพัฒนาตามแนวคิดของทฤษฎีภาวะทันสมัย
จุดมุ่งหมายหลัก คือ การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาชุมชนเมืองและการสร้างความก้าวหน้าของระบบตลาดมาสนับสนุน ตามแนวคิดของ Adam Smith เกี่ยวกับทฤษฎีการแพร่กระจาย ทำให้ความทันสมัยทางเศรษฐกิจและสังคมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทั่วถึงกัน
2.กระบวนการพัฒนาตามแนวคิดของทฤษฎีภาวะทันสมัย
- รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐจะเข้ามามีบทบาทในการกำหนดแผนพัฒนา ซึ่งมีลักษณะเป็นการวางแผนจากส่วนกลาง เพื่อจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน
- การจัดตั้งสถาบันต่างๆ ทั้งสถาบันทางด้านการเมือง สถาบันทางด้านสังคม และสถาบันทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนเร่งรัดการพัฒนา
- การขยายของตัวเมืองและบริการสาธารณะในเขตชุมชนเมือง ทั้งเมืองหลวง และเมืองหลัก
- การให้บริการแก่สังคมชนบทในรูปต่างๆ
3.จุดเน้นของทฤษฎีภาวะทันสมัย สรุปได้ดังนี้ คือ
- เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
- เน้นบทบาทของรัฐในการวางแผนจากส่วนกลาง
- เน้นพัฒนาสังคมเมือง
- เน้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
ทฤษฎีพึ่งพา (Dependency Theory) ในทศวรรษที่ 1960 ได้มีนักวิชาการสายยุโรป เช่น กุนนาร์ ไมด์ดัล (Gunnar Myrdal) , ดัดเลย์ เซียร์ (Duley Seer) , พอล สทรีทเท็น (Pual Streeten) ได้คัดค้านแนวความคิดทฤษฎีภาวะทันสมัย โดยสนอว่าแนวความคิดดังกล่าวไม่สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ประเทศโลกที่ 3 ได้ นอกจากนั้นวิชาการสายลาตินอเมริกา อาทิ Frank , Cardose , Doossantos ได้เสนอว่า ทฤษฎีภาวะทันสมัยสามารถนำไปใช้ในประเทศด้อยพัฒนาได้สำเร็จ เพราะยิ่งพัฒนาไป “คนรวยยิ่งรวย แต่คนจนยิ่งจนลง” หรือที่เรียกว่า “รวยกระจุก แต่จนกระจาย” เขาจึงต่อต้านทฤษฎีภาวะทันสมัยมาก และได้เสนอแนวคิดทฤษฎีพึ่งพาเอาไว้ดังนี้ คือ
- เขามองว่าถ้าพัฒนาตามทฤษฎีภาวะทันสมัย ประเทศตะวันตกที่เจริญจะเป็นศูนย์กลางทุกอย่าง ในขณะที่ประเทศด้อยพัฒนาจะเป็นบริวาร หรือต้องพึ่งพาภายนอกอยู่ตลอดเวลา
- เขาเน้นว่าควรมีการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเสียใหม่ เพื่อที่จะนำไปสู่การกระจายผลของการพัฒนาอย่างเป็นธรรม
- กระบวนการที่สามารถกระทำได้คือ การลดการพึ่งพาจากภายนอกลง และการที่ประเทศพยายามเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งตนเองให้มากขึ้น
แต่ทฤษฎีพึ่งพานี้นักวิชาการมิได้เสนอแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน หรือเป็นรูปธรรมนักจึงทำให้มีการปฏิเสธแนวทางการพัฒนาแบบดั้งเดิม และนำไปสู่แนวทางการพัฒนาใหม่ที่เน้นการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานต่อไป
ทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Needs Theory) แนงความคิดของนักวิชาการกลุ่มองค์การกรรมกรระหว่างประเทศ (ILO=International Labour Organization) ได้เสนอกลยุทธ์ในการพัฒนาใหม่โดยคำนึงถึงความต้องการพื้นฐาน และความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ และการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังการพัฒนา เหตุผลที่มาของทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานคือ
- เป็นข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาความล้มเหลวของทฤษฎีภาวะความทันสมัย
- องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับความจำเป็นพื้นฐานเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนา
- ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของนักทฤษฎีพึ่งพาบางกลุ่ม
ทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานได้รับอิทธิพลจากนักเศรษฐศาสตร์หลายท่าน อาทิ ดัดเลย์ เซียร์ (Duley Seer) , พอล สทรีทเท็น (Pual Streeten) , กุนนาร์ ไมด์ดัล (Gunnar Myrdal) โดยได้โต้ตอบแนวความคิดของทฤษฎีภาวะทันสมัยด้วยการเรียกร้องให้มีการดำเนินการวิเคราะห์เพื่อกำหนดเงื่อนไขทางสังคมและการจัดเตรียมสถาบันต่างๆ ก่อนการพัฒนา นอกจากนั้นยังให้คำนิยามเกี่ยวกับความจำเป็นพื้นฐาน การระดมทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อบรรลุถึงความสำเร็จที่ต้องการ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานนั้นเป็นทฤษฎีทางสายกลางระหว่างทฤษฎีภาวะทันสมัยและทฤษฎีพึ่งพา ที่เสนอมิติใหม่ในการวางแผนพัฒนาจากกรอบความคิดในการวางแผนจากส่วนกลาง ไปสู่การวางแผนจากระดับล่างขึ้นมา สำหรับความต้องการความจำเป็นขั้นพื้นฐานแต่ละประเทศมีความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้น ประเทศต่างๆ จึงควรกำหนดความจำเป็นขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์และความเหมาะสมของประเทศตน
จุดเน้นที่สำคัญของทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน
- เน้นการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการที่จำเป็นพื้นฐานของประชาชน
- เน้นการกระจายอำนาจและการกระจายความเจริญไปยังพื้นที่เป้าหมายอย่างทั่วถึง
- ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคเกษตรกรรม และพื้นที่ชนบทมาก
- สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
- เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประเทศ
- เน้นการพัฒนาทุกๆ ด้านไปพร้อมๆ กันแบบบูรณาการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- สนับสนุนการใช้แรงงาน และทุนภายในประเทศ
- เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน
จุดมุ่งหมายของการพัฒนาตามทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน
ทฤษฎีนี้กำหนดจุดมุ่งหมายไว้ว่า เป็นการใช้ความพยายามเพื่อดำเนินการพัฒนาไปสู่การตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งความจำเป็นขั้นพื้นฐานเหล่านี้กำหนดขึ้น โดยคำนึงถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาว่าสถานภาพปัจจุบันของประชากรมีเป้าหมายอย่างไร กับคำนึงถึงเกณฑ์ความเป็นไปได้ในทางวิชาการและสภาวะการสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ระดับความจำเป็นพื้นฐานของตนเอง ความจำเป็นขั้นพื้นฐานในที่นี้จะรวมถึงความจำเป็นทั้งในทางวัตถุและความจำเป็นในทางจิตใจด้วย
กระบวนการในการพัฒนาตามทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน
- กระบวนการในการวางแผนพัฒนา สำหรับกระบวนการในการวางแผนพัฒนาตามทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานนี้เน้นสาระสำคัญ คือ นักวางแผนต้องคำนึงถึงความสำคัญในการคัดเลือกโครงการที่จะตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานที่กำหนดขึ้น และโครงการที่ตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานถือว่ามีระดับเร่งด่วนสูงสุดที่จะต้องเน้นบริการแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนแน่นอน นอกจากนั้น การกระจายอำนาจในการวางแผนถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความจำเป็นขั้นพื้นฐาน เพราะเป็นเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการในระยะยาวคือการที่ประชาชนในชุมชนต่างๆ สามารถพึ่งตนเองได้ตลอดไป
- เนื้อหาสำคัญที่ควรมุ่งเน้นในการวางแผน
เนื้อหาสำคัญที่มุ่งเน้นในการวางแผนของทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐานคือการเปลี่ยนแปลงวิธีการกระจายรายได้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการผลิตและการค้าตลอดจนการกระจายอำนาจให้แต่ละชุมชนแต่ละพื้นที่ได้เสนอปัญหาและความต้องการขึ้นมา แล้วคัดเลือกโครงการที่สามารถตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานมากที่สุด นั่นคือต้องมีการปรับโครงสร้างการบริหารของรัฐ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นและเข้าถึงบริการด้านต่างๆ ของรัฐ โดยอาศัยระบบการบริหารที่ดีให้ความสำคัญกับภาคชนบทและสาขาเกษตรกรรมมากขึ้น เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในชนบทยังมีฐานะยากจน ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำ จึงควรมีการพัฒนาระบบการผลิตและปัจจัยการผลิตในชนบทให้ดีขึ้น เพราะแนวคิดในเรื่องการพัฒนานั้นมีความเชื่อว่า ถ้าสามารถสร้างประชาชนในชนบทให้มีคุณภาพและเป็นฐานในการผลิตได้แล้ว ก็จะสามารถพัฒนาได้ง่าย นอกจากนั้นยังเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ประหยัด ง่ายต่อการใช้ เหมาะสมกับเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรมและสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เกิดดุลยภาพทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการบริการ
ทฤษฎีการปรับตัว (Theories of Motivation)
ทฤษฎีปรากฎการณ์นิยม (Phenomenology Theory)

บุคลิกภาพ
(Personality)
คำว่า “บุคลิกภาพ” มาจากภาษาละตินว่า Persona หมายถึง หน้ากากที่ตัวละครใช้สวมเวลาออกแสดง เพื่อที่จะแสดงบทบาทตามที่ถูกกำหนดให้
คำจำกัดความของ “บุคลิกภาพ” คือ ผลร่วมอย่างมีระบบของพฤติกรรมต่าง ๆ ตลอดจนทัศนคติและค่านิยมซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยเฉพาะตัวบุคคล ดังนั้นจิตวิทยาบุคลิกภาพจึงเป็นศาสตร์ที่มุ่งศึกษานิสัยของบุคคลซึ่งช่วยให้มองเห็นว่าแต่ละคนแตกต่างกันอย่างไร
สมมติว่าเรารู้จักเพื่อนคนหนึ่งเป็นคนรูปร่างสูงโปร่ง เดินตัวตรง มีลักษณะที่แสดงออกเป็นปกติ คือ รักความยุติธรรม ซื่อสัตย์ เราอาจจะกล่าวได้ว่าบุคลิกภาพของเขานั้นสง่า น่านับถือ ซื่อสัตย์ รักความยุติธรรมเป็นตน นั่นก็คือ เรายอมรับลักษณะเด่นในตัวเขาให้เป็นบุคลิกภาพของเขา
จะเห็นว่าส่วนมากเราจะเน้นลักษณะของแต่ละบุคคล ซึ่งมีผลต่อการปรับตัวของเขาต่อคนอื่น และต่อตัวของเขาเอง อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่สามารถจะกล่าวได้ว่า คำจำกัดความใดดีที่สุดและถูกต้องที่สุด ทั้งนี้เพราะคำจำกัดความแต่ละอย่างต่างก็มาจากความเชื่อในทฤษฏีบุคลิกภาพ ที่มีอยู่มากมายแตกต่างกัน เราจะเชื่อหรือยึดถือคำจำกัดความใดได้ เราก็ต้องพิจารณาถึงทฤษฎีบุคลิกภาพเสียก่อน
สิ่งที่กำหนดบุคลิกภาพ (Personality Determinants)
ในการวิจัยเกี่ยวกับบุคลิกภาพมีข้อถกเถียงมากมาย แต่ในที่สุด ก็สรุปว่า บุคลิกภาพ มีผลมาจาก 3 องค์ประกอบ คือ พันธุกรรม (Heredity), สิ่งแวดล้อม (Environment Factors) และสถานการณ์ (Situation Conditions)
พันธุกรรม (Heredity) จากการวิจัยพบว่า ลักษณะต่าง ๆ ทั้งทางชีวะภาพ กายภาพ และ จิตวิทยาภายใน จะถูกถ่ายทอดจาก บิดามารดา สู่บุตรผ่านทางยีนที่อยู่ในโครโมโซม ทั้งนี้จาก
1. การสังเกตพฤติกรรมและอารมณ์ในวัยเยาว์ ซึ่งพบว่าลักษณะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความวิตก ความกังวล ความกลัว ฯลฯ จะถูกถ่ายทอดผ่านยีนพอ ๆ กับลักษณะทางกายภาพ เช่น ความสูง สีผม ฯลฯ
2. การศึกษาคู่แฝดที่ถูกแยกเลี้ยงดูให้ห่างกันตั้งแต่เยาว์วัย โดยนักวิจัยได้ศึกษาคู่แฝดกว่า 100 ราย พบว่า แม้จะถูกแยกเลี้ยงดู ก็จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันหลายประการ เช่น แฝดคู่หนึ่งที่ถูกเลี้ยงห่างกัน 45 ไมล์ เป็นเวลา 39 ปี ยังใช้รถยนต์สี และรุ่นเดียวกัน สูบบุหรี่ยี่ห้อเดียวกัน เลี้ยงสุนัขชื่อเดียวกัน และใ


http://learners.in.th/blog/em-orn/351174
Ton
Ton
Admin

จำนวนข้อความ : 127
Join date : 03/05/2009
: 47

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ